วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เรื่อง ชีวิตในอวกาศ โดย น.ส.ปาลิตา แก้วพรม ม.5/8 เลขที่ 7


 การใช้ชีวิตในสถานีอวกาศ

     
  ตารางเวลา

            โซนเวลาที่ใช้บนสถานีอวกาศนานาชาติ คือ เวลาสากลเชิงพิกัด (UTC หรือบ้างเรียกว่า GMT) หน้าต่างสถานีจะปิดเอาไว้ในช่วงที่เป็นเวลากลางคืนเพื่อให้ได้ความรู้สึกถึงความมืด เพราะบนสถานีอวกาศนั้นจะมีดวงอาทิตย์ขึ้นและตกวันละ 16 ครั้ง แต่ระหว่างที่ปฏิบัติภารกิจบนกระสวยอวกาศ ลูกเรือของสถานีอวกาศนานาชาติมักจะใช้ เวลาภารกิจ (Mission Elapsed Time; MET) ของกระสวยเพราะสะดวกกว่า เป็นเวลาที่อ้างอิงจากเวลานำส่งของภารกิจกระสวยอวกาศนั้นๆ แต่ช่วงเวลานอนระหว่างเวลา UTC กับเวลา MET นั้นแตกต่างกัน ลูกเรือสถานีอวกาศนานาชาติจึงต้องปรับรูปแบบการนอนก่อนที่กระสวยอวกาศจะมาถึงและหลังจากกระสวยจากไปแล้ว เพื่อให้เข้ากันกับโซนเวลาที่เปลี่ยนไป เรียกชื่อว่า ช่วงเปลี่ยนการนอน (sleep shifting)
ตามปกติ วันของลูกเรือเริ่มต้นขึ้นด้วยการตื่นนอนเวลา 06:00 น. ตามด้วยกิจกรรมหลังตื่นนอน และการตรวจสอบสถานีรอบเช้า จากนั้นลูกเรือจะรับประทานอาหารเช้าและเข้าประชุมวางแผนประจำวันกับศูนย์ควบคุมภารกิจก่อนจะเริ่มงานราว 08:10 น. จากนั้นเป็นตารางออกกำลังกายครั้งแรก แล้วทำงานไปจนถึงเวลา 13:05 พักทานอาหารเที่ยงหนึ่งชั่วโมง ช่วงบ่ายจะต้องออกกำลังกายอีกและทำงานไปจนถึงช่วงกิจกรรมก่อนนอนซึ่งจะเริ่มขึ้นที่เวลาราว 19:30 น. ได้แก่ การรับประทานอาหารค่ำและการประชุมลูกเรือ ตารางเวลานอนเริ่มที่ประมาณ 21:30 น. โดยปกติแล้วลูกเรือจะทำงานประมาณวันละ 10 ชั่วโมงในวันทำงานปกติ และ 5 ชั่วโมงในวันเสาร์ นอกเหนือจากนั้นเป็นเวลาส่วนตัวสำหรับพักผ่อน เล่นเกม หรือติดตามงาน


       
       การนอนหลับ
            สถานีอวกาศมีส่วนพื้นที่สำหรับลูกเรือให้สมาชิกของคณะลูกเรือถาวรของ Expedition โดยมี 'สถานีนอนหลับ' สองแห่งในเซ็กเมนต์วงโคจรรัสเซีย และอีกสี่แห่งที่จะติดตั้งเพิ่มใน Tranquillity แต่ปัจจุบันกระจายอยู่ตามส่วนต่างๆ รอบเซ็กเมนต์วงโคจรสหรัฐอเมริกา ส่วนพื้นที่ของอเมริกันเป็นพื้นที่รโหฐาน ขนาดประมาณตู้เก็บเสียงจุได้ 1 คน สมาชิกลูกเรือสามารถนอนข้างในนั้นได้โดยอาศัยถุงนอน ฟังเพลง ใช้แลปท็อป หรือเก็บข้าวของส่วนตัวในลิ้นชักใหญ่หรือในตาข่ายที่ผูกติดไว้กับผนังของโมดูล ภายในโมดูลยังติดตั้งตะเกียงสำหรับอ่านหนังสือ ชั้นวางของ และเครื่องเดสค์ทอปหนึ่งตัว ลูกเรือหมุนเวียนจะไม่มีโมดูลสำหรับนอน มีเพียงถุงนอนติดตั้งตามพื้นที่ว่างบนผนังเนื่องจากสามารถจะนอนแบบลอยๆ อยู่ได้ทั่วไปในสถานี แต่ตามปกติจะไม่ทำวิธีนี้เพราะมีความเสี่ยงที่จะลอยไปกระทบกระแทกเครื่องมือละเอียดอ่อนในสถานีได้ การระบายอากาศให้แก่พื้นที่อยู่อาศัยของลูกเรือเป็นเรื่องสำคัญมาก มิฉะนั้นนักบินอวกาศอาจตื่นขึ้นมาเพราะขาดอากาศ เนื่องจากคาร์บอนไดออกไซด์ที่พวกเขาหายใจออกมาจะสะสมอยู่รอบๆ ศีรษะ

นักบินอวกาศ เพ็กกี วิตสัน ที่ประตูเข้าชั้นเตียงนอนในห้องปฏิบัติการ Destiny



สุขอนามัย
            บนสถานีอวกาศนานาชาติไม่มีฝักบัวอาบน้ำ แม้จะเคยวางแผนเอาไว้เป็นส่วนหนึ่งในโมดูลพำนักอาศัย (Habitation Module) แต่โมดูลนี้ถูกยกเลิกไปแล้ว ลูกเรือของสถานีอวกาศจะทำความสะอาดร่างกายด้วยการฉีดน้ำและเช็ดตัวโดยใช้สบู่จากแท่งจ่ายคล้ายหลอดยาสีฟัน ใช้น้ำยาสระผมแบบไม่ต้องล้างน้ำ และใช้ยาสีฟันแบบกลืนได้เลยเพื่อเป็นการประหยัดน้ำมีห้องสุขาสองห้องบนสถานีอวกาศนานาชาติ ทั้งสองห้องเป็นงานออกแบบจากทางรัสเซีย ติดตั้งอยู่บนโมดูล Zvezda และโมดูล เดสทินี การระบายของเสียใช้ระบบดูดด้วยแรงลมคล้ายคลึงกับระบบกำจัดของเสียบนกระสวยอวกาศ นักบินอวกาศจะต้องรัดตัวเองเอาไว้บนที่นั่งสุขาที่ปิดผนึกอย่างดี ดึงคันโยกที่จะสั่งการให้พัดลมกำลังสูงทำงาน และช่องดูดอากาศเลื่อนเปิดออก กระแสการไหลของอากาศจะพาเอาของเสียออกไปด้วย ของเสียที่เป็นวัตถุแข็งจะจัดเก็บเอาไว้ในถุงแยกส่วนบรรจุในคอนเทนเนอร์อะลูมิเนียม เมื่อคอนเทนเนอร์เหล่านี้เต็ม ก็จะถูกส่งไปยังยานอวกาศโพรเกรสเพื่อนำไปกำจัดทิ้ง ของเสียที่เป็นของเหลวจะถูกดูดทิ้งออกไปด้วยสายที่เชื่อมต่ออยู่ทางด้านหน้าของห้องสุขา ซึ่งมีอุปกรณ์ "ตัวเปลี่ยนโถปัสสาวะ" (urine funnel adapters) ติดตั้งไว้เพื่อให้ทั้งลูกเรือชายและหญิงสามารถใช้ห้องสุขาเดียวกันได้ ของเสียจะถูกนำไปเก็บและส่งต่อให้ระบบบำบัดน้ำ เพื่อจัดการรีไซเคิลกลับมาเป็นน้ำดื่มได้ใหม่
นักบินอวกาศกำลังโกนหนวด


อาหารและเครื่องดื่ม


              อาหารอวกาศส่วนใหญ่ที่ลูกเรือในสถานีอวกาศใช้บริโภคมักเป็นอาหารแช่แข็ง อาหารแช่เย็น หรืออาหารกระป๋อง นักบินอวกาศเป็นคนเตรียมเมนูเองก่อนที่จะขึ้นบินไปยังสถานีอวกาศโดยมีนักโภชนาการเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ ความรู้สึกถึงรสชาติเมื่ออยู่ในวงโคจรจะลดลงเพราะของเหลวในร่างกายจะเคลื่อนขึ้นไปทางศีรษะ ดังนั้นลูกเรือส่วนมากจึงนิยมรับประทานอาหารรสเผ็ด ลูกเรือแต่ละคนจะมีแพ็คเกจอาหารของตัวเองและเตรียมอุ่นอาหารกันเองในห้องครัวบนสถานี ซึ่งจะมีเครื่องอุ่นอาหาร 2 เครื่อง ตู้เย็น 1 เครื่อง และเครื่องจ่ายน้ำ 1 เครื่องสำหรับจ่ายทั้งน้ำร้อนและน้ำธรรมดา เครื่องดื่มจะอยู่ในรูปของผงสกัดแห้ง และนำไปผสมกับน้ำก่อนรับประทาน การรับประทานเครื่องดื่มและซุปทำโดยการจิบจากถุงพลาสติกโดยใช้หลอด ส่วนอาหารที่ไม่ใช่ของเหลวสามารถรับประทานได้ด้วยมีดและส้อมซึ่งจะติดเอาไว้กับถาดอาหารด้วยแม่เหล็กเพื่อกันมิให้มันลอยหนีไป ถ้าเกิดมีอาหารหรือเศษอาหารล่องลอยไป จะต้องรีบจัดเก็บทั้งหหมดเพื่อป้องกันมิให้มันไปอุดตันเครื่องกรองอากาศและอุปกรณ์อื่นๆ ในสถานี
ลูกเรือในเที่ยวบิน STS-127 และ Expedition 20กำลังรับประทานอาหารภายในโมดูล Unity

              การออกกำลังกาย


             ผลกระทบทางลบที่สำคัญที่สุดสำหรับการอยู่ในสภาวะไร้น้ำหนักเป็นเวลานานๆ คืออาการกล้ามเนื้อลีบและอาการกระดูกเสื่อม หรือเรียกว่าspaceflight osteopenia ผลกระทบขั้นรุนแรงอื่นๆ รวมถึงปัญหาการกระจายตัวของของเหลว ปัญหาระบบไหลเวียนโลหิตที่ช้าลง การผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงลดน้อยลง ปัญหาการทรงตัว และภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลง นอกจากนี้ยังมีอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ เช่น การสูญเสียมวลร่างกาย อาการหายใจติดขัด การนอนไม่หลับ มีลมมากเกินไป และผิวหน้าพอง อาการเหล่านี้จะกลับฟื้นคืนได้อย่างรวดเร็วเมื่อกลับสู่โลก เพื่อป้องกันผลกระทบต่อร่างกายของลูกเรือ บนสถานีอวกาศจะติดตั้งเครื่องออกกำลังกาย aRED (advanced Resistive Exercise Device) ซึ่งมีอุปกรณ์ยกน้ำหนักหลายแบบและเครื่องปั่นจักรยาน นักบินอวกาศแต่ละคนจะต้องใช้เวลาในการออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 2 ชั่วโมง นักบินอวกาศจะผูกสายรัดยางยืดเพื่อยึดตัวเองเอาไว้กับแท่นออกกำลังกาย นักวิจัยเชื่อว่าการออกกำลังกายเป็นการป้องกันการสูญเสียความหนาแน่นของกระดูกและกล้ามเนื้อซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์อาศัยอยู่ในที่ที่ไร้แรงโน้มถ่วงเป็นเวลานานๆ
นักบินอวกาศกำลังวิ่งอยู่บนลู่วิ่งพิเศษ
คลิปวิดีโอการใช้ชีวิตในอวกาศ



วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

โลกและการเปลี่ยนแปลง น.ส.ศิริลักษณ์ ฉลองภูมิ เลขที่ 30 ม.5/8

โลกและการเปลี่ยนแปลง

                                                   เรื่อง  ทวีปในอดีต
ทวีปในอดีต
เมื่อมองดูแผนที่โลก หากเราตัดส่วนที่เป็นพื้นมหาสมุทรออก จะพบว่าส่วนโค้งของขอบแต่ละทวีปนั้น โค้งรับกันราวกับนำมาเลื่อนต่อกันได้เสมือนเกมส์ต่อแผนภาพ (Jigsaw) นักธรณีวิทยาพบว่า ตามบริเวณแนวรอยต่อของเพลตต่างๆ มักเป็นที่ตั้งของเทือกเขาสูงและภูเขาไฟ ทั้งบนทวีปและใต้มหาสมุทร การศึกษาการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกด้วยทฤษฎีเพลตเทคโทนิคส์ ประกอบกับร่องรอยทางธรณีวิทยาในอดีตพบว่า เมื่อ 200 ล้านปีก่อน ทุกทวีปอยู่ชิดติดกันเป็นแผ่นดินขนาดใหญ่ เรียกว่า พันเจีย (Pangaea) โดยมีดินแดนทางตอนเหนือชื่อ ลอเรเซีย (Lawresia) และดินแดนทางใต้ชื่อ กอนด์วานา (Gonwana) ซึ่งแบ่งแยกด้วยทะเลเททิสโดยมีหลักฐานสนับสนุนได้แก่ รูปร่างโค้งเว้าของทวีป ฟอสซิลไดโนเสาร์และพืชโบราณ  ร่องรอยของธารน้ำแข็งและภูมิอากาศในอดีต รวมทั้งโครงสร้างทางธรณีวิทยา เช่น องค์ประกอบและอายุหิน





 1.1การแพร่พันธุ์ของสัตว์ในอดีต

        นักธรณีวิทยาพบว่า ทวีปที่สัณนิษฐานว่า เคยอยู่ชิดติดกัน จะมีซากฟอสซิลที่เหมือนกัน เช่น ไซโนกาทัส (Cynogathus) สัตว์เลื้อยคลานในยุคไทรแอสสิคอาศัยอยู่ในบราซิลและแอฟริกา, ลีสโทรซอรัส (Lystrosaurus) อาศัยอยู่ในแอฟริกา อินเดีย และแอนตาร์กติก, มีโซซอรัส (Mesosaurus) อาศัยอยู่ในตอนใต้ของอเมริกาใต้และแอฟริกา, ต้นกลอสโซเทรีส (Grossoteris) เคยแพร่พันธุ์อยู่ในอเมริกา แอฟริกา อินเดีย แอนตาร์กติก และออสเตรเลีย








 1.2 สภาพภูมิอากาศในอดีต สีเขียวคือป่าเขตร้อน สีขาวคือธารน้ำแข็ง
                นักอุตุนิยมวิทยาพบร่องรอยของธารน้ำแข็งโบราณในทวีปอเมริกาใต้ แอฟริกา อินเดีย ออสเตรเลีย และแอนตาร์กติก  นักธรณีวิทยาพบว่า ภายใต้พื้นที่ทะเลทรายของอเมริกาเหนือและเอเชียกลาง ซึ่งเป็นแหล่งถ่านหินและน้ำมันดิบในปัจจุบัน    ในอดีตเคยเป็นเขตศูนย์สูตรซึ่งอุดมไปด้วยป่าไม้ขนาดใหญ่ ซึ่งกลายเป็นแหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิลในปัจจุบัน  ดังภาพ   นอกจากนี้นักธรณีได้ทำการตรวจสอบอายุหินฐานซึ่งวางตัวอยู่ชั้นล่างสุด ในบริเวณตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้ แอฟริกา อินเดีย ออสเตรเลีย และแอนตาร์กติก พบว่าหินบริเวณเหล่านี้มีอายุเก่าไล่เลี่ยกัน





 1.3วัฏจักรวิลสัน
  ในปี พ.ศ.2509 นักธรณีวิทยาชาวแคนาดาชื่อ จอห์น ทูโซ วิลสัน (John Tuzo Wilson) ได้ตั้งสมมติฐานว่า เปลือกโลกถูกทำลายและสร้างขี้นใหม่ในลักษณะรีไซเคิลทุกๆ 500 ล้านปี เนื่องจากโลกของเรามีเส้นรอบวงยาวประมาณ 40,000 กิโลเมตร จึงคำนวณได้ว่า เปลือกโลกเคลื่อนที่ด้วยความเร็วปีละ 4 เซนติเมตร ดังนั้นเปลือกโลกซึ่งแยกตัวออกจากกันในซีกโลกหนึ่ง จะเคลื่อนที่ไปชนกันในซีกโลกตรงข้ามโดยใช้เวลาประมาณ 500 ล้านปี เปลือกโลกมหาสมุทรเกิดขึ้นใหม่จากการโผล่ขึ้นของหินหนืดในจุดร้อน (Hot spot) ใต้เปลือกโลก  หินหนืดจากฐานธรณีภาคดันเปลือกทวีปทั้งสองให้แยกจากกัน และเคลื่อนที่ไปชนกับเปลือกโลกมหาสมุทรในซีกโลกฝั่งตรงข้าม ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าให้จมตัวลง การชนกันทำให้มหาสมุทรทางด้านตรงข้ามมีขนาดเล็กลง ดังภาพ  (ก)  จากนั้นเปลือกโลกทวีปเคลื่อนที่ไปชนกัน ทำให้เกิดมหาทวีปในซีกโลกหนึ่ง (เช่น พันเจีย) และเกิดมหาสมุทรขนาดใหญ่ในซีกตรงข้าม ดังภาพ  (ข)เมื่อเวลาผ่านไป หินหนืดที่เกิดจากจุดร้อนใต้เปลือกโลก ดันให้เปลือกโลกทวีปเแยกออกจากกัน เกิดเปลือกโลกมหาสมุทรขึ้นมาใหม่ ดันเปลือกทวีปให้แยกตัวจากกัน และเคลื่อนที่ไปชนกับเปลือกโลกมหาสมุทรในซีกตรงข้าม มหาสมุทรจึงมีขนาดเล็กลง ดังภาพ (ค)  และท้ายที่สุดเปลือกทวีปทั้งสองก็จะชนกันเป็นมหาทวีปอีกครั้ง กระบวนการเช่นนี้เรียกว่า วัฏจักรวิลสัน (Wilson's cycle)

แหล่งอ้างอิง


วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เรื่อง ระบบสุริยะ โดย ชลธิชา ว่องศรีเจริญชัย เลขที่ 22

                        


                        ระบบสุริยะ คือระบบดาวที่มีดาวฤกษ์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์ (Planet) เป็นบริวารโคจรอยู่โยรอบ เมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย ต่อการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตก็จะเกิดขึ้นบนดาวเคราะห์เหล่านั้น หรือ บริวารของดาวเคราะห์เองที่เรียกว่าดวงจันทร์ (Satellite) นักดาราศาสตร์เชื่อว่า ในบรรดาดาวฤกษ์ทั้งหมดกว่าแสนล้านดวงในกาแลกซี่ทางช้างเผือก ต้องมีระบบสุริยะที่เอื้ออำนวยชีวิตอย่างระบบสุริยะที่โลกของเรา เป็นบริวารอยู่อย่างแน่นอน เพียงแต่ว่าระยะทางไกลมากเกินกว่าความสามารถในการติดต่อจะทำได้ถึง

                                          

    ระบบสุริยะ (Solar System) 
    ระบบสุริยะที่โลกของเราอยู่เป็นระบบที่ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์ (The sun) เป็นศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์ (Planets) 9 ดวง ที่เราเรียกกันว่า ดาวนพเคราะห์ ( นพ แปลว่า เก้า)   เรียงตามลำดับ จากในสุดคือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ดาวพลูโต 
                                   

                                                

ข้อมูลของดวงอาทิตย์
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง    :1,392,000 กิโลเมตร หรือ 109 เท่าของโลก
มวล  :  332,943 เท่าของโลก
ความหนาแน่นเฉลี่ย : 1,408 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร
หมุนรอบตัวเองที่เส้นศูนย์สูตร : 25.07 วัน
อุณหภูมิพื้นผิวประมาณ     : 6,000 องศาเซลเซียส
แรงโน้มถ่วงที่ผิว : 27.9 เท่าของโลก

มีธาตุที่สำคัญ คือ 
ไฮโดรเจน : 71%
ฮีเลียม    : 27%
ออกซิเจนและธาตุอื่น  : 2% 


ข้อมูลของดาวพุธ
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง : 4,880 กิโลเมตร 
มวล  (โลก =1) :  0.055 เท่าของโลก
ความหนาแน่นเฉลี่ย : 5,430 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร
คาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ : 88 วัน
คาบการหมุนรอบตัวเอง : 59 วันระยะห่างจากดวงอาทิตย์เฉลี่ย : 58 ล้านกิโลเมตร
                                                 
                                                        

ข้อมูลของดาวศุกร์
เส้นผ่านศูนย์กลาง : 12,104 กิโลเมตร
มวล (โลก =1) : 0.815 เท่าของโลก
ความหนาแน่เฉลี่ย : 5,424 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร
คาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ : 225 วัน
คาบการหมุนรอบตัวเอง  :243 วันระยะห่างจากดวงอาทิตย์เฉลี่ย : 108 ล้านกิโลเมตร

                                                              
                                                           

ข้อมูลเกี่ยวกับโลก
เส้นผ่านศูนย์กลาง : 12,756 กิโลเมตร
มวล : 5.98 x 1,024 กิโลเมตร
ความหนาแน่นเฉลี่ย : 5,520 กิโลเมตร/ลูกบาศก์เมตร
คาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ : 356.26 วัน
คาบการหมุนรอบตัวเอง : 23.93 วัน
ระยะห่างจากดวงอาทิตย์เฉลี่ย : 150 ล้านกิโลเมตร
ความเอียงของแกนโลกจากแนวตั้งฉาก : 23.5 องศา
ความเร็วเฉลี่ยในการเคลื่อนที่ : 29.78 กิโลเมตร/วินาที
อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ย : 15 องศา

องศ์ประกอบของบรรยากาศ 
ไนโตรเจน : 77%
ออกซิเจน : 21%
คาร์บอนไดออกไซด์ อาร์กอน ไอน้ำและอื่นๆ : 2%

                                                          
                                                           

ข้อมูลของดาวอังคาร
เส้นผ่านศูนย์กลาง : 6,794 กิโลเมตร
มวล (โลก =1) : 0.107 เท่าของโลก
ความหนาแน่นเฉลี่ย : 3,930 กิโลเมตร/ลูกบาศก์เมตร
คาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ : 687 วัน
คาบการหมุนรอบตัวเอง : 24 ชั่วโมง 37 นาที
ระยะห่างจากดวงอาทิตย์เฉลี่ย : 230 ล้านกิโลเมตร
                                                          
                                                           

ข้อมูลของดาวพฤหัสบดี
เส้นผ่านศูนย์กลาง : 140,000 กิโลเมตร
มวล (โลก =1) : 317.83 เท่าของโลก
ความหนาแน่นเฉลี่ย : 1,330 กิโลเมตร/ลูกบาศก์เมตร
คาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ : 12 ปี
คาบการหมุนรอบตัวเอง : 9 ชั่วโมง 50 นาที
ระยะห่างจากดวงอาทิตย์เฉลี่ย : 780 ล้านกิโลเมตร

                                                         

ข้อมูลของดาวเสาร์
เส้นผ่านศูนย์กลาง : 120,000 กิโลเมตร
มวล (โลก =1) : 95.16 เท่าของโลก
ความหนาแน่นเฉลี่ย : 700 กิโลเมตร/ลูกบาศก์เมตร
คาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ : 29.5 ปี
คาบการหมุนรอบตัวเอง : 10 ชั่วโมง 34 นาที
ระยะห่างจากดวงอาทิตย์เฉลี่ย : 1,430 ล้านกิโลเมตร
                                                        
                                                     

ข้อมูลของดาวยูเรนัส
เส้นผ่านศูนย์กลาง : 52,400 กิโลเมตร
มวล (โลก =1) : 14.54 เท่าของโลก
ความหนาแน่นเฉลี่ย : 1,300 กิโลเมตร/ลูกบาศก์เมตร
คาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ : 84 ปี
คาบการหมุนรอบตัวเอง : 17 ชั่วโมง 14 นาที
ระยะห่างจากดวงอาทิตย์เฉลี่ย : 2,900 ล้านกิโลเมตร
                                                            

ข้อมูลของดาวเนปจูน
เส้นผ่านศูนย์กลาง : 50,000 กิโลเมตร
มวล (โลก =1) : 17.15 เท่าของโลก
ความหนาแน่นเฉลี่ย : 1,640 กิโลเมตร/ลูกบาศก์เมตร
คาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ : 165 ปี
คาบการหมุนรอบตัวเอง : 16 ชั่วโมง
ระยะห่างจากดวงอาทิตย์เฉลี่ย : 4,500 ล้านกิโลเมตร
                                                           

ข้อมูลของดาวพลูโต
เส้นผ่านศูนย์กลาง : 2, 4 00 กิโลเมตร
มวล (โลก =1) : 0.0022 เท่าของโลก
ความหนาแน่นเฉลี่ย : 2,030 กิโลเมตร/ลูกบาศก์เมตร
คาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ : 248 ปี
คาบการหมุนรอบตัวเอง : 6.4 วัน
ระยะห่างจากดวงอาทิตย์เฉลี่ย : 5,900 ล้านกิโลเมตร



และยังมีดวงจันทร์บริวารของ ดวงเคราะห์แต่ละดวง (sattelites) ยกเว้นเพียง สองดวงคือ ดาวพุธ และ ดาวศุกร์ ที่ไม่มีบริวาร นอกจากนี้ยังมี ดาวเคราะห์น้อย (Minor planets) ดาวหาง (Comets) อุกกาบาต (Meteorites) ตลอดจนกลุ่มฝุ่นและก๊าซ ซึ่งเคลื่อนที่อยู่ในวงโคจร ภายใต้อิทธิพลแรงดึงดูด จากดวงอาทิตย์ ขนาดของระบบสุริยะ กว้างใหญ่ไพศาลมาก ดวงอาทิตย์มีมวลมากกว่าร้อยละ 99 ของมวลทั้งหมดในระบบสุริยะ ที่เหลือนอกนั้นจะเป็นมวลของ เทหวัตถุต่างๆ ซึ่ง ประกอบด้วยดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และอุกกาบาต รวมไปถึงฝุ่นและก๊าซ ที่ล่องลอยระหว่าง ดาวเคราะห์ แต่ละดวง โดยมีแรงดึงดูด (Gravity) เป็นแรงควบคุมระบบสุริยะ ให้เทหวัตถุบนฟ้าทั้งหมด เคลื่อนที่เป็นไปตามกฏแรง แรงโน้มถ่วงของนิวตัน 
     
แหล่งอ้างอิง 

เรื่อง ซากดึกดําบรรพ์ที่พบในประเทศไทย โดย ธันยพร อ้นบุญอิ่ม ม.5/8 เลขที่ 9

ซากดึกดําบรรพ์ที่พบในประเทศไทย


ซากไดโนเสาร์
หลุมที่ขุดพบ

การเกิดซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์
กระดูกจะกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์เนื่องจากถูกทับถมอย่างรวดเร็วโดยพายุทะเลทรายหรือโคลนตะกอนจากก้นแม่น้ำก่อนที่จะผุพังหรือถูกทำลายไป เมื่อเวลาผ่านไปหลายล้านปี ทรายและโคลนจะกลายเป็นหิน น้ำที่ไหลซึมลงใต้ดินพาแร่ต่างๆไปสะสมในรูพรุนของกระดูกทำให้แข็ง แต่ถ้ากระดูกเหล่านี้ถูกน้ำหรือผู้ย่อยสลายทำให้กระจัดกระจายก่อนจะถูกฝัง ผู้เชี่ยวชาญจะประกอบกลับได้ยาก

สาเหตุที่เราเห็นซากดึกดำบรรพ์เพราะหินที่เก็บรักษากระดูกถูกดันขึ้นสู่ผิวโลกและเริ่มผุพัง นักวิทยาศาสตร์จึงค้นพบร่องรอยของสัตว์ดึกดำบรรพ์



ประวัติการค้นพบ และการขุดค้นพิพิธภัณฑ์สิรินธร

ซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์

ที่ภูกุ้มข้าว อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ พบโดยพระครูวิจิตรสหัสคุณเจ้าอาวาสวัดสักกะวัน
ในปีพ.ศ. 2537 และได้เริ่มทำการขุดค้นอย่างเป็นระบบ โดยคณะสำรวจไดโนเสาร์จากกรมทรัพยากรธรณี โดยนายวราวุธ สุธีธร ซึ่งพบว่า ภูกุ้มข้าว ตำบลโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัด กาฬสินธุ์ เป็นแหล่งไดโนเสาร์กินพืชที่สมบูรณ์ที่สุดของประเทศไทยโดยพบกระดูกไดโนเสาร์เกือบทั้งตัวกองรวมอยู่กับกระดูกไดโนเสาร์กินพืชอีกชนิดหนึ่งกระดูกทั้งหมดอยู่ในชั้นหินที่วางตัวอยู่บนไหล่เขาของภูกุ้มข้าวซึ่งมี รูปร่างคล้ายลอมฟาง มีความสูงประมาณ 240 เมตร

ปัจจุบันกรมทรัพยากรธรณีได้ขุดค้นซากไดโนเสาร์พบกระดูกมากกว่า 700 ชิ้น เป็นกลุ่มของกระดูกส่วนขา สะโพก ซี่โครง คอ และหางของไดโนเสาร์กินพืชไม่น้อยกว่า 7 ตัว นอกจากนี้ยังพบฟันของไดโนเสาร์ทั้งกินพืช และกินเนื้ออีกอย่างละ 2 ชนิด จากลักษณะของกระดูกพบว่าเป็นไดโนเสาร์กินพืชสกุลภูเวียง (Phuwiangosaurus sirindhornae ) 1 ชนิด และเป็นไดโนเสาร์กินพืชชนิดใหม่อีก 1 ชนิด คาดว่าอาจเป็นไดโนเสาร์สกุลและชนิดใหม่ของโลก


รอยเท้าไดโนเสาร์ภูแผก

ลักษณะของซากดึกดำบรรพ์

รอยเท้าไดโนเสาร์ทั้งหมดปรากฏให้เห็นเป็นรอยทางเดิน 3 แนว คือ แนวที่ 1 มุ่งหน้าไปทาง ทิศตะวันออกเฉียงใต้ (120 องศา) จำนวน 7 รอย แนวที่ 2 มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (60 องศา) จำนวน 2 รอย และแนวที่ 3 มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (37 องศา) จำนวน 3 รอย รอยตีนทั้งหมดเป็นรอยตีนที่มีนิ้ว 3 นิ้ว ขนาดโดยเฉลี่ยมีความยาวประมาณ 45 เซนติเมตร กว้าง 40 เซนติเมตร ระยะก้าว 120 และ 110 ซม. เป็นไดโนเสาร์ที่เดินด้วยสองขาหลัง มีความสูงถึงสะโพกมากกว่า 2 เมตร ก้าวเดินไปช้า ๆ


ซากปลาโบราณ
ปลาโบราณภูน้ำจั้น
  ลักษณะของซากดึกดำบรรพ์ 
ปลา “ เลปิโดเทส พุทธบุตรเอนซิส ” เป็นปลาน้ำจืดมีความยาวประมาณ 30 – 60 เซนติเมตร และมีเกล็ดแข็งลักษณะรูปขนมเปียกปูน กินพืชเป็นอาหาร พบมากในช่วงมหายุคมีโสโซอิก สูญพันธุ์ไปเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว สันนิษฐานได้ว่าในอดีตบริเวณที่พบซากดึกดำบรรพ์น่าจะเป็นบึงน้ำโบราณที่มีขนาดใหญ่มีปลาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก บางปีเกิดช่วงแล้งยาวนานกว่าปกติทำให้น้ำแห้ง ปลาตาย และซากปลาก็ถูกโคลนทับถมไว้ทำให้อากาศไม่สามารถเข้าไปได้ทำให้ซากปลาถูกเก็บรักษาไว้ในชั้นหินกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์มาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังพบซากดึกดำบรรพ์ของปลาปอดและปลากินเนื้อซึ่งมีความยาวประมาณ 95 เซนติเมตร


 วนอุทยานภูน้ำจั้น อยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติภูโหล่ย



แหล่งอ้างอิง  : 
http://www.sdm.dmr.go.th/fossil_sirinthorn_museum.htm