วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เรื่องกล้องโทรทรรศน์ โดย กมลชนก โรจน์เจริญวัฒนา เลขที่ 17


กล้องโทรทรรศน์(Telescopes)


     กล้องโทรทรรศน์ (telescope) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยขยายภาพของวัตถุในท้องฟ้าให้เห็นรายละเอียดต่างๆ มากขึ้น
กล้องโทรทรรศน์ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
            1. กล้องโทรทรรศน์ชนิดแสง แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
                        1.1 กล้องโทรทรรศน์ประเภทหักเหแสง (refracting telescope) ใช้หลักการหักเหของแสงผ่านเลนส์นูน 2 ชุด คือ เลนส์ใกล้วัตถุและเลนส์ใกล้ตา จะทำให้ภาพของวัตถุที่เกิดจากเลนส์ทั้ง 2 ชุดขยายขึ้น ดังนั้นกล้องโทรทรรศน์จึงช่วยให้มองเห็นภาพวัตถุที่อยู่ไกลให้มีขนาดใหญ่ ขึ้น และทำให้เห็นรายละเอียดของภาพมากกว่าการสังเกตด้วยตาเปล่า




                       1.2 กล้องโทรทรรศน์ประเภทสะท้อนแสง (reflecting telescope) ใช้กระจกเงาเว้าแทนเลนส์นูนใกล้วัตถุ ซึ่งทำหน้าที่รับและรวมแสงจากวัตถุไปยังกระจกเงาราบเพื่อสะท้อนไปยังเลนส์ ใกล้ตา ซึ่งเลนส์ใกล้ตาจะทำให้เกิดภาพขนาดขยาย




           สำหรับกล้องโทรทรรศน์ประเภทสะท้อนแสง ถ้าทำให้กระจกเงาเว้ามีเส้นผ่านศูนย์กลางมากๆ จะสามารถมองเห็นภาพวัตถุที่ไกลโลกมากๆ ได้ชัดเจนกว่ากล้องโทรทรรศน์ประเภทหักเหแสง
กำลังขยายของกล้องโทรทรรศน์ คำนวณจากอัตราส่วนระหว่างความยาวโฟกัสของเลนส์ใกล้วัตถุ (fo) กับความยาวโฟกัสของเลนส์ใกล้ตา (fe)



             2. กล้องโทรทรรศน์วิทยุ (radio telescope) เป็นกล้องโทรทรรศน์ที่สามารถรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่น ในช่วงคลื่นวิทยุจากวัตถุบางชนิดจากท้องฟ้าได้



ส่วนประกอบของกล้องโทรทรรศน์วิทยุมี 3 ส่วนคือ
            1) ส่วนรับสัญญาณ ทำหน้าที่รับและรวมสัญญาณไปอยู่ที่จุดโฟกัสของจาน
            2) ส่วนขยายสัญญาณ ทำหน้าที่ขยายสัญญาณที่ส่งมาจากส่วนรับสัญญาณ
            3) ส่วนบันทึกสัญญาณ ทำหน้าที่แปลสัญญาณที่ถูกขยายให้ออกมาเป็นภาพ หรือรหัสบนแผ่นกระดาษ หรือจอรับภาพเป็นภาพ
            กล้องโทรทรรศน์ที่กล่าวมาเป็นกล้องที่ตั้งอยู่บนโลกและโลกมีบรรยากาศห่อหุ้ม คลื่นแม่เหล็กในช่วงคลื่นสั้น เช่น คลื่นรังสีเอกซ์ หรือคลื่นรังสีแกมมาที่แผ่ออกมาจากดาว จะไม่สามารถผ่านบรรยากาศของโลกได้ ดังนั้นจึงได้มีการสร้างกล้องโทรทรรศน์แล้วส่งขึ้นไปในอวกาศ ได้แก่ กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลและกล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา


     แหล่งอ้างอิง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น