วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เรื่อง ซากดึกดําบรรพ์ที่พบในประเทศไทย โดย ธันยพร อ้นบุญอิ่ม ม.5/8 เลขที่ 9

ซากดึกดําบรรพ์ที่พบในประเทศไทย


ซากไดโนเสาร์
หลุมที่ขุดพบ

การเกิดซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์
กระดูกจะกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์เนื่องจากถูกทับถมอย่างรวดเร็วโดยพายุทะเลทรายหรือโคลนตะกอนจากก้นแม่น้ำก่อนที่จะผุพังหรือถูกทำลายไป เมื่อเวลาผ่านไปหลายล้านปี ทรายและโคลนจะกลายเป็นหิน น้ำที่ไหลซึมลงใต้ดินพาแร่ต่างๆไปสะสมในรูพรุนของกระดูกทำให้แข็ง แต่ถ้ากระดูกเหล่านี้ถูกน้ำหรือผู้ย่อยสลายทำให้กระจัดกระจายก่อนจะถูกฝัง ผู้เชี่ยวชาญจะประกอบกลับได้ยาก

สาเหตุที่เราเห็นซากดึกดำบรรพ์เพราะหินที่เก็บรักษากระดูกถูกดันขึ้นสู่ผิวโลกและเริ่มผุพัง นักวิทยาศาสตร์จึงค้นพบร่องรอยของสัตว์ดึกดำบรรพ์



ประวัติการค้นพบ และการขุดค้นพิพิธภัณฑ์สิรินธร

ซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์

ที่ภูกุ้มข้าว อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ พบโดยพระครูวิจิตรสหัสคุณเจ้าอาวาสวัดสักกะวัน
ในปีพ.ศ. 2537 และได้เริ่มทำการขุดค้นอย่างเป็นระบบ โดยคณะสำรวจไดโนเสาร์จากกรมทรัพยากรธรณี โดยนายวราวุธ สุธีธร ซึ่งพบว่า ภูกุ้มข้าว ตำบลโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัด กาฬสินธุ์ เป็นแหล่งไดโนเสาร์กินพืชที่สมบูรณ์ที่สุดของประเทศไทยโดยพบกระดูกไดโนเสาร์เกือบทั้งตัวกองรวมอยู่กับกระดูกไดโนเสาร์กินพืชอีกชนิดหนึ่งกระดูกทั้งหมดอยู่ในชั้นหินที่วางตัวอยู่บนไหล่เขาของภูกุ้มข้าวซึ่งมี รูปร่างคล้ายลอมฟาง มีความสูงประมาณ 240 เมตร

ปัจจุบันกรมทรัพยากรธรณีได้ขุดค้นซากไดโนเสาร์พบกระดูกมากกว่า 700 ชิ้น เป็นกลุ่มของกระดูกส่วนขา สะโพก ซี่โครง คอ และหางของไดโนเสาร์กินพืชไม่น้อยกว่า 7 ตัว นอกจากนี้ยังพบฟันของไดโนเสาร์ทั้งกินพืช และกินเนื้ออีกอย่างละ 2 ชนิด จากลักษณะของกระดูกพบว่าเป็นไดโนเสาร์กินพืชสกุลภูเวียง (Phuwiangosaurus sirindhornae ) 1 ชนิด และเป็นไดโนเสาร์กินพืชชนิดใหม่อีก 1 ชนิด คาดว่าอาจเป็นไดโนเสาร์สกุลและชนิดใหม่ของโลก


รอยเท้าไดโนเสาร์ภูแผก

ลักษณะของซากดึกดำบรรพ์

รอยเท้าไดโนเสาร์ทั้งหมดปรากฏให้เห็นเป็นรอยทางเดิน 3 แนว คือ แนวที่ 1 มุ่งหน้าไปทาง ทิศตะวันออกเฉียงใต้ (120 องศา) จำนวน 7 รอย แนวที่ 2 มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (60 องศา) จำนวน 2 รอย และแนวที่ 3 มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (37 องศา) จำนวน 3 รอย รอยตีนทั้งหมดเป็นรอยตีนที่มีนิ้ว 3 นิ้ว ขนาดโดยเฉลี่ยมีความยาวประมาณ 45 เซนติเมตร กว้าง 40 เซนติเมตร ระยะก้าว 120 และ 110 ซม. เป็นไดโนเสาร์ที่เดินด้วยสองขาหลัง มีความสูงถึงสะโพกมากกว่า 2 เมตร ก้าวเดินไปช้า ๆ


ซากปลาโบราณ
ปลาโบราณภูน้ำจั้น
  ลักษณะของซากดึกดำบรรพ์ 
ปลา “ เลปิโดเทส พุทธบุตรเอนซิส ” เป็นปลาน้ำจืดมีความยาวประมาณ 30 – 60 เซนติเมตร และมีเกล็ดแข็งลักษณะรูปขนมเปียกปูน กินพืชเป็นอาหาร พบมากในช่วงมหายุคมีโสโซอิก สูญพันธุ์ไปเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว สันนิษฐานได้ว่าในอดีตบริเวณที่พบซากดึกดำบรรพ์น่าจะเป็นบึงน้ำโบราณที่มีขนาดใหญ่มีปลาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก บางปีเกิดช่วงแล้งยาวนานกว่าปกติทำให้น้ำแห้ง ปลาตาย และซากปลาก็ถูกโคลนทับถมไว้ทำให้อากาศไม่สามารถเข้าไปได้ทำให้ซากปลาถูกเก็บรักษาไว้ในชั้นหินกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์มาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังพบซากดึกดำบรรพ์ของปลาปอดและปลากินเนื้อซึ่งมีความยาวประมาณ 95 เซนติเมตร


 วนอุทยานภูน้ำจั้น อยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติภูโหล่ย



แหล่งอ้างอิง  : 
http://www.sdm.dmr.go.th/fossil_sirinthorn_museum.htm






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น