ซากดึกดำบรรพ์
ซากดึกดำบรรพ์ หมายถึง ซากและร่องรอยของบรรพชีวิน(Ancient life)ที่ประทับอยู่ในหิน บางแห่งเป็นรอยพิมพ์ บางแห่งก็มีซากเดิมปรากฏอยู่ รอยตีนสัตว์ มูลสัตว์ ถ่านหิน ไม้กลายเป็นหิน รวมอยู่ในหมู่ซากดึกดำ-บรรพ์นี้เหมือนกัน ถ้าเป็นไฟลัมหรือชั้นของชีวินดึกดำบรรพ์ใดที่สามารถใช้บ่งบอกอายุหินได้ เรียกว่า ซากดึกดำบรรพ์ดรรชนี(Index fossil)
การศึกษาซากดึกดำบรรพ์ เรียกว่า เพลิโอนโทโลยี ซึ่งบ่งชี้ว่า สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นบนโลกอย่างน้อย 3,500 ล้านปีมาแล้ว ตั้งแต่นั้นมาก็เกิดสายพันธ์ของสัตว์และพืช ซึ่งส่วนใหญ่ได้สูญพันธ์ไปแล้ว การศึกษาซากที่ยังหลงเหลืออยู่ทำให้เราได้เห็นชีวิตในยุคดึกดำบรรพ์ที่อยู่บนผิวโลก
ภาพแสดง รูป รอยเท้าไดโนเสาร์ภูแฝก ต. ภูแล่นช้าง กิ่งอำเภอนาคู จ. กาฬสินธุ์ ที่มา : http://www.thainame.net/project/fossil5d5/a3.html |
กลุ่มชีวินดึกดำบรรพ์(Fossil Assemblage) ได้แก่
- กลุ่มชีวิน : กลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่ประกอบด้วยสัตว์หรือพืชชนิดเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน หรือกลุ่มของซากดึกดำบรรพ์ที่ปรากฏอยู่ในลำดับชั้นหินชั้นเดียวกันในพื้นที่ใดพื้นที่หนี่ง
- กลุ่มแร่ : แร่ต่าง ๆที่ประกอบกันขึ้นเป็นหินแต่ละชนิด โดยเฉพาะหินอัคนีและหินแปร
ภาพแสดง รูปฟอสซิลไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว ต.โนนบุรี อ. สหัสขันธ์จ. กาฬสินธุ์ ที่มา : http://www.thainame.net/project/fossil5d5/a3.html |
การเกิดซากดึกดำบรรพ์
ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งมีชีวิตไปเป็นซากดึกดำบรรพ์เกิดขึ้นกว่าหลายล้านปีมาแล้ว ทันทีที่สัตว์และพืชตาย มันก็จะเริ่มแยกออกเป็นส่วน ๆหรือผุผังไป ส่วนที่แข็งอย่างเปลือกหอย กระดูกและฟันของสัตว์หรือไม้จะยังคงทนอยู่นานกว่าเนื้อเยื่อนุ่มๆแต่มักจะกระจัดกระจายหายไปเพราะการกระทำของสัตว์ ลม หรือน้ำ สิ่งใดจะกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์จะถูกฝังลงไปใต้ดินอย่างรวดเร็วก่อนที่จะแยกออกเป็นส่วน ๆและถูกตะกอนต่าง ๆ เช่น ทราย หรือโคลนที่ถูกน้ำพัดพามาทับถม บางชิ้นค่อย ๆ ละลายหายไป บางชิ้นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางเคมีหรือบิดเบี้ยวผิดรูปไปเนื่องจากอุณหภูมิและความกดดัน
สรุปขั้นตอนการเกิดซากดึกดำบรรพ์ ได้ดังนี้
- สัตว์หรือพืชตายลงจมลงสู่ก้นทะเลและส่วนที่เหลือจะค่อย ๆถูกฝังลงในชั้นของตะกอน
- ตะกอนชั้นล่าง ๆได้กลายเป็นหินและส่วนที่เหลืออยู่จะแข็งตัวกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์
- หินถูกดันขึ้นไปมาและถูกกัดเซาะ
- ซากดึกดำบรรพ์โผล่ขึ้นสู่ชั้นผิวโลก
ภาพแสดง รูป รอยเท้าไดโนเสาร์ภูหลวง เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูหลวง จ. เลย ที่มา : http://www.thainame.net/project/fossil5d5/a3.html |
ประเภทของซากดึกดำบรรพ์
ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มักจะมี 2 ส่วน หลังจากถูกฝังลงไปแล้ว ตัวสัตว์จะเน่าเปื่อย และทิ้งส่วนที่เป็นแบบพิมพ์กลวง ๆเอาไว้ ถ้ามีตะกอนตกลงไปและแข็งตัวกลายเป็นรูปหล่อ
- ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี(Index Fossil) ซากดึกดำบรรพ์ที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะในหินบริเวณใดบริเวณหนึ่งสามารถใช้บ่งบอกอายุของชั้นหินนั้นได้
- ซากดึกดำบรรพ์เฉพาะแหล่ง( facies fossil) ซากดึกดำบรรพ์ชนิดที่พบอยู่เฉพาะในชั้นหินที่กำหนด หรือเป็นชนิดที่ปรับตัวให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมที่จำกัดในแหล่งเกิดชั้นหินนั้นแล้ว สภาพแวดล้อมดังกล่าวนี้เป็นสภาพแวดล้อมที่ผิดแปลกไปจากสภาพปรกติโดยทั่วไป
- ซากดึกดำบรรพ์แทรกปน(Introduced Fossils; infiltrated fossil) หมายถึง ซากดึกดำบรรพ์ที่มีอายุอ่อนกว่า ถูกนำพาเข้าไปแทรกปนอยู่กับซากดึกดำบรรพ์หรือหินที่มีอายุแก่กว่า ปรากฏการณ์นี้มักเกิดขึ้นกับซากดึกดำบรรพ์เล็ก ๆซึ่งอยู่ในชั้นหินตอนบนที่ของเหลวนำพาลงไปชั้นหินตอนล่างที่มีอายุแก่กว่าตามรอยแตก รูหรือโพรงของสัตว์และช่องว่างที่เกิดจากรากไม้
- ซากดึกดำบรรพ์ปริศนา( Dubio fossil ) โครงสร้างซึ่งน่าจะมีต้นกำเนิดจากสิ่งมีชีวิต แต่เนื่องจากไม่สามารถแยกรายละเอียดได้ จึงไม่แน่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่
- ซากดึกดำบรรพ์พัดพา(Reworked fossil ) เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่อยู่ในชั้นหินเดิม ต่อมาหินนั้นถูกกัดกร่อน ซากดึกดำบรรพ์จึงถูกพัดพาไปสะสมตัวอยู่ในชั้นหินที่มีอายุอ่อนกว่า
- ซากประจำหน่วย ( Characteristic fossil diagonostic fossil) หมายถึงสกุลหรือชนิดของซากดึกดำบรรพ์ที่นำมาใช้เป็นเครื่องอ้างถึง กำหนดหรือเป็นลักษณะเฉพาะตัวของหน่วยหิน หรือหน่วยเวลา โดยใช้ชนิดที่พบอยู่ในเฉพาะชั้นหินนั้น หรือชนิดที่พบมีปริมาณมากมายในชั้นหินนั้นได้ คล้ายกับซากดึกดำบรรพ์ดัชนี
ภาพแสดง ซากของสััตว์ดึกดำบรรพ์ ที่มา : http://static.howstuffworks.com/gif/fossil-1.jpg |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น