โลกและการเปลี่ยนแปลง
เรื่อง ทวีปในอดีต
1 ทวีปในอดีต
เมื่อมองดูแผนที่โลก
หากเราตัดส่วนที่เป็นพื้นมหาสมุทรออก จะพบว่าส่วนโค้งของขอบแต่ละทวีปนั้น
โค้งรับกันราวกับนำมาเลื่อนต่อกันได้เสมือนเกมส์ต่อแผนภาพ (Jigsaw) นักธรณีวิทยาพบว่า
ตามบริเวณแนวรอยต่อของเพลตต่างๆ มักเป็นที่ตั้งของเทือกเขาสูงและภูเขาไฟ
ทั้งบนทวีปและใต้มหาสมุทร
การศึกษาการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกด้วยทฤษฎีเพลตเทคโทนิคส์
ประกอบกับร่องรอยทางธรณีวิทยาในอดีตพบว่า เมื่อ 200 ล้านปีก่อน
ทุกทวีปอยู่ชิดติดกันเป็นแผ่นดินขนาดใหญ่ เรียกว่า พันเจีย (Pangaea) โดยมีดินแดนทางตอนเหนือชื่อ
ลอเรเซีย (Lawresia) และดินแดนทางใต้ชื่อ กอนด์วานา (Gonwana)
ซึ่งแบ่งแยกด้วยทะเลเททิสโดยมีหลักฐานสนับสนุนได้แก่
รูปร่างโค้งเว้าของทวีป ฟอสซิลไดโนเสาร์และพืชโบราณ ร่องรอยของธารน้ำแข็งและภูมิอากาศในอดีต
รวมทั้งโครงสร้างทางธรณีวิทยา เช่น องค์ประกอบและอายุหิน
นักธรณีวิทยาพบว่า ทวีปที่สัณนิษฐานว่า เคยอยู่ชิดติดกัน
จะมีซากฟอสซิลที่เหมือนกัน เช่น ไซโนกาทัส (Cynogathus) สัตว์เลื้อยคลานในยุคไทรแอสสิคอาศัยอยู่ในบราซิลและแอฟริกา, ลีสโทรซอรัส
(Lystrosaurus) อาศัยอยู่ในแอฟริกา
อินเดีย และแอนตาร์กติก, มีโซซอรัส
(Mesosaurus) อาศัยอยู่ในตอนใต้ของอเมริกาใต้และแอฟริกา, ต้นกลอสโซเทรีส
(Grossoteris) เคยแพร่พันธุ์อยู่ในอเมริกา
แอฟริกา อินเดีย แอนตาร์กติก และออสเตรเลีย
นักอุตุนิยมวิทยาพบร่องรอยของธารน้ำแข็งโบราณในทวีปอเมริกาใต้
แอฟริกา อินเดีย ออสเตรเลีย และแอนตาร์กติก
นักธรณีวิทยาพบว่า ภายใต้พื้นที่ทะเลทรายของอเมริกาเหนือและเอเชียกลาง
ซึ่งเป็นแหล่งถ่านหินและน้ำมันดิบในปัจจุบัน
ในอดีตเคยเป็นเขตศูนย์สูตรซึ่งอุดมไปด้วยป่าไม้ขนาดใหญ่
ซึ่งกลายเป็นแหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิลในปัจจุบัน
ดังภาพ
นอกจากนี้นักธรณีได้ทำการตรวจสอบอายุหินฐานซึ่งวางตัวอยู่ชั้นล่างสุด
ในบริเวณตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้ แอฟริกา อินเดีย ออสเตรเลีย และแอนตาร์กติก
พบว่าหินบริเวณเหล่านี้มีอายุเก่าไล่เลี่ยกัน
ในปี
พ.ศ.2509 นักธรณีวิทยาชาวแคนาดาชื่อ จอห์น ทูโซ วิลสัน
(John Tuzo Wilson) ได้ตั้งสมมติฐานว่า
เปลือกโลกถูกทำลายและสร้างขี้นใหม่ในลักษณะรีไซเคิลทุกๆ 500
ล้านปี เนื่องจากโลกของเรามีเส้นรอบวงยาวประมาณ 40,000
กิโลเมตร จึงคำนวณได้ว่า เปลือกโลกเคลื่อนที่ด้วยความเร็วปีละ 4
เซนติเมตร ดังนั้นเปลือกโลกซึ่งแยกตัวออกจากกันในซีกโลกหนึ่ง
จะเคลื่อนที่ไปชนกันในซีกโลกตรงข้ามโดยใช้เวลาประมาณ 500 ล้านปี
เปลือกโลกมหาสมุทรเกิดขึ้นใหม่จากการโผล่ขึ้นของหินหนืดในจุดร้อน (Hot
spot) ใต้เปลือกโลก
หินหนืดจากฐานธรณีภาคดันเปลือกทวีปทั้งสองให้แยกจากกัน
และเคลื่อนที่ไปชนกับเปลือกโลกมหาสมุทรในซีกโลกฝั่งตรงข้าม
ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าให้จมตัวลง การชนกันทำให้มหาสมุทรทางด้านตรงข้ามมีขนาดเล็กลง
ดังภาพ (ก) จากนั้นเปลือกโลกทวีปเคลื่อนที่ไปชนกัน
ทำให้เกิดมหาทวีปในซีกโลกหนึ่ง (เช่น พันเจีย) และเกิดมหาสมุทรขนาดใหญ่ในซีกตรงข้าม
ดังภาพ (ข)เมื่อเวลาผ่านไป
หินหนืดที่เกิดจากจุดร้อนใต้เปลือกโลก ดันให้เปลือกโลกทวีปเแยกออกจากกัน
เกิดเปลือกโลกมหาสมุทรขึ้นมาใหม่ ดันเปลือกทวีปให้แยกตัวจากกัน
และเคลื่อนที่ไปชนกับเปลือกโลกมหาสมุทรในซีกตรงข้าม มหาสมุทรจึงมีขนาดเล็กลง
ดังภาพ (ค)
และท้ายที่สุดเปลือกทวีปทั้งสองก็จะชนกันเป็นมหาทวีปอีกครั้ง
กระบวนการเช่นนี้เรียกว่า วัฏจักรวิลสัน (Wilson's cycle)
แหล่งอ้างอิง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น